• ภาษาไทย
    • English

ประวัติและข้อมูลทั่วไป

 

รัฐบาลได้รับมอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลดำเนินการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นในจังหวัดตรัง เนื่องจาก พิจาณาเห็นว่าภาคใต้ กำลังเป็นพื้นที่ที่จะได้รับการพัฒนาจากรัฐบาลในหลายๆด้าน ประกอบกับปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวสู่ความเป็นประเทศ อุตสาหกรรมจึงเห็นควรจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้เพียงพอกับความต้องการกำลังคนของประเทศสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลพิจารณาเห็นว่าในการผลิตกำลังคนระดับปริญญาตรีดังกล่าว เพื่อที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของประเทศนั้นควรผลิตบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติสำหรับรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ตามโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้จึงได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง (Faculty of Science and Fisheries Technology) ขึ้นในจังหวัดตรัง ความคืบหน้าของโครงการฯตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีรายละเอียดพอสังเขปดังต่อไปนี้

สิงหาคม 2533

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติปากคลองกะลาเส และปากคลองไม้ตาย ท้องที่หมู่ที่ 3 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,700 ไร่ เป็นสถานที่   ตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จังหวัดตรัง

20 พฤศจิกายน 2533

คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จังหวัดตรัง เป็นการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชายฝั่งทะเลภาคใต้ และสำนักงบประมาณได้อนุมัติเงิน  จำนวน 8,770,000 บาท

26 มีนาคม 2534

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีคำสั่งที่ 585/2534 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2534 แต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการ โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ ประมง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เนื่องจากพื้นที่ที่ใช้ในการจัดตั้งมีที่ดินบางส่วนเป็นป่าชายเลน

24 ธันวาคม 2534

ทบวงมหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นชอบหลักสูตรของคณะฯ ทั้ง 3 สาขาวิชา ดังนี้ สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตวน้ำ สาขาวิชาอุตสาหกรรมประมงและสาขาวิชาการจัดการประมง

24 กรกฎาคม 2535

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ประกาศเรื่องการแบ่งส่วนราชการภายใน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งคณะฯ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2535

เมษายน 2540

ทบวงมหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นชอบหลักสูตรของคณะฯ เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2540)

พ.ศ. 2542

คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรเพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือสาขาวิชาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหลักสูตรของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

กันยายน 2542

ทบวงมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ ให้คณะฯ เปิดหลักสูตร เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ-วิศวกรรมประมง (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2542)

พ.ศ. 2544

ทบวงมหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นชอบหลักสูตรกับคณะฯ ให้เปิดเพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยใช้หลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

19 พฤศจิกายน 2544

คณะฯ ได้เปิดศูนย์พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำราชมงคล อย่างเป็นทางการ

8 มกราคม 2548

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลขึ้นแทนสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548” ขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา โดยให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตามพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตามพระราชบัญญัติ จำนวน 9 แห่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นหนึ่งในนั้น

พ.ศ. 2550

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2550

พ.ศ. 2550
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้ประกาศการแบ่งส่วนราชการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง การแบ่งส่วนราชการเป็นงานสายวิชาการ ดังนี้
 1. สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
 2. สาขาเทคโนโลยีการประมง
 3. สาขาสิ่งแวดล้อม
 4. สาขาเทคโนโลยี
 5. สาขาศึกษาทั่วไป

และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้ประกาศการแบ่งส่วนราชการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  (เพิ่มเติม)  ดังนี้
 1. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ  (พ.ศ.2551)
 2. สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (พ.ศ.2551)
 3. สาขาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ประมง  (พ.ศ.2554)

การแบ่งส่วนราชการเป็นงานสายสนับสนุน(สำนักงานคณบดี) ดังนี้
 1. งานบริหารและวางแผน
 2. งานวิชาการและวิจัย
 3. งานพัฒนานักศึกษา

 

 

สีประจำที่เป็นสัญลักษณ์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง คือ " สีเทาเงิน " 

                      

 

รหัสสี :   #a1a1a1

สีเทา :    มาจากพื้นท้องทะเล อันเป็นที่ตั้งของคณะฯ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน

สีเงิน :    มาจากสีของเกล็ดปลาทะเล ที่สะท้อนแสงแวววาว มองดูแล้วสวยงามซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ที่จัดการเรียนการสอนด้านประมง

 

สีประจำที่เป็นสัญลักษณ์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง คือ " สีเทาเงิน " 

                      

 

รหัสสี :   #a1a1a1

สีเทา :    มาจากพื้นท้องทะเล อันเป็นที่ตั้งของคณะฯ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน

สีเงิน :    มาจากสีของเกล็ดปลาทะเล ที่สะท้อนแสงแวววาว มองดูแล้วสวยงามซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ที่จัดการเรียนการสอนด้านประมง