• ภาษาไทย
    • English

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 : การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน

 


ผลการดำเนินงาน

ข้อ การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน หมายเลขและรายการเอกสาร
1. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
     ผลการดำเนินงาน
     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีแนวนโยบายที่ชัดเจนต่อการสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยได้จัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย ได้แก่ “แผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2560 – 2563 และแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ” ผ่านกระบวนการวางแผนที่มุ่งเน้นความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีการทบทวนผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมา ตลอดจนมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร (SWOT Analysis) เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและบริบทอื่นๆ ที่ 

ผลกระทบต่อการดำเนินงานของคณะ รวมถึงการศึกษาและวิเคราะห์ความคิดเห็นต่างๆ ของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันจะนำมาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนที่เหมาะสมกับบริบทและอัตลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ซึ่งกระบวนการทั้งหมดได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ  ประจำคณะ จากนั้นจึงถ่ายทอดสู่บุคลากรซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรของคณะสามารถดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้จัดกิจกรรมการทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2560 – 2563 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ภายใต้โครงการ“ทบทวนแผน กลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี” ในระหว่างวันที่ 25–27 ตุลาคม 2559 ณ โรงแรมลันตา แซนด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 50 คน ประกอบ ไปด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดทิศทางในการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยกระบวนการดังกล่าวจะสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนให้กับบุคลากรที่จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานตามแผนที่ตนเองมีส่วนร่วมในการกำหนดขึ้น ตลอดจนเข้าใจถึงการกำกับติดตามผล การวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคระหว่างการดำเนินงานตามแผน

     หลังจากที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มีการทบทวนแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2560 -  2563 เรียบร้อยแล้วนั้น หน่วยการเงินและบัญชีของคณะ ได้จัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะ เพื่อให้การดำเนินงานของคณะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ครั้งที่ 8/2559 เมื่อวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559

     คณะได้จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ และมีการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน เพื่อใช้เป็นแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติงานของบุคลากรที่เป็นผู้รับผิดชอบในการผลักดันตัวชี้วัด ซึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2559 สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีมติอนุมัติแผนปฏิบัติงานประจำปี 2560 เพื่อให้ทุกหน่วยงานนำไปปฏิบัติและดำเนินการควบคุม ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และขับเคลื่อนตัวชี้วัดให้บรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

     และเพื่อให้ผลการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ.2560 บรรลุค่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อวันพุธที่ 15 มีนาคม 2560 รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผนได้แจ้งที่ประชุมทราบ เรื่องการดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติงานประจำปี/การติดตามโครงการ ที่ประชุมมีมติรับทราบ

 

 

 

FSFT 5.1-1-01  ตารางความเชื่อมโยงปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ มทร.ศรีวิชัย

FSFT 5.1-1-02 แผนผัง    กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

FSFT 5.1-1-03  แผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2560 -2563

FSFT 5.1-1-04 รายงานผลการจัดโครงการทบทวนแผนกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี

FSFT 5.1-1-05  แผนกลยุทธ์ทางการเงิน พ.ศ. ๒2560- 2563

FSFT 5.1-1-06 รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ครั้งที่ 174–12/2559 วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องประชุมศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  ศรีวิชัย จังหวัดสงขลา

FSFT 5.1-1-07 แผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

FSFT 5.1-1-08  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี              การประมง ครั้งที่ 1/2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณบดี

2

ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน อย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในกรแข่งขัน

     ผลการดำเนินงาน

    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินระยะ 4 ปี (พ.ศ.2560-2563) ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2559 วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559 ซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านการเงินและงบประมาณของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

     คณะฯ มีการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน ประจำปีงบประมาณ 2559

ตารางที่ 1 แสดงต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร

ตารางที่ 2 แสดงค่าใช้จ่ายในการพัฒนานักศึกษา ด้านบุคลากร ด้านการเรียนการสอน 

***ค่าใช้จ่ายในการพัฒนานักศึกษา บุคลากร การเรียนการสอน เฉพาะงบอุดหนุนและงบรายจ่ายอื่น

1. ข้อมูลสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา

         รายจ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษา ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,674,390.00 บาท จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด 29,090,490.00 บาท คิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่าย 5.76%

2. ข้อมูลสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาอาจารย์ บุคลากร

       รายจ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนาอาจารย์ บุคลากร ได้แก่ เงินเดือนและค่าจ้างประจำ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาอาจารย์ และบุคลากร รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 17,060,700.00 บาท จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด 29,090,490.00 บาท คิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่าย 58.64%

3. ข้อมูลสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

         รายจ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนการสอน ครุภัณฑ์ต่างๆ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 10,355,400.00 บาท คิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่าย 35.60%

       ข้อมูลสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน พบว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาอาจารย์ บุคลากร มากที่สุด 58.64% รองลงมาคือค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 35.60% และค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา 5.76%

       คณะฯ มีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร โดยพิจารณาจากต้นทุนต่อหน่วยรวม 

-ระดับปริญญาตรี

-ระดับปริญญาโท

      พบว่าต้นทุนต่อหน่วยรวมของหลักสูตรเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว  เนื่องจากจำนวนนักศึกษาน้อยกว่าแผนรับ คณะฯ ได้วางแผนในปีงบประมาณถัดไป โดยการจัดโครงการแนะแนวไปยังสถานศึกษาต่างๆ เพื่อให้มีนักเรียนสอนใจในหลักสูตรของคณะฯ และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและ website ของคณะฯ

      หลักสูตรของคณะฯ มีโอกาสการแข่งขันสูง จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบัณฑิต เฉลี่ยร้อยละ 89.00 และบัณฑิตมีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี ค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.58

FSFT-5.1-2-01   แผนกลยุทธ์ทางการเงิน พ.ศ. 2560-2563

FSFT-5.1-2-02 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ครั้งที่ 8/2559 วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559

FSFT-5.1-2-03 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการต้นทุนผลผลิตที่ 116/2559

FSFT-5.1-2-04 รายงานค่า FTES ปีงบประมาณ 2559

FSFT-5.1-2-05 รายงานต้นทุนผลผลิต ประจำปี พ.ศ. 2559

FSFT-5.1-2-06 รายการสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

FSFT-5.1-2-07 รายงานข้อมูลสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน

FSFT-5.1-2-08 รายงานความพึงพอใจของผู้ประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิต มทร.ศรีวิชัย รุ่นปีการศึกษา 2558

FSFT-5.1-2-09 รายงานภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต รุ่นสำเร็จปีการศึกษา 2558

 

3.

     ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สมารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนิน งานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม

     ผลการดำเนินงาน

     1. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีคณบดีเป็นประธานกรรมการ รองคณบดีแต่ละฝ่าย หัวหน้าสาขา ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หัวหน้าสำนักงานคณบดี เป็นคณะกรรมการและผู้เลขานุการ

      2. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงตามคู่มือการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยทั้ง  7  ขั้นตอนประกอบด้วย

         1)  กำหนดวัตถุประสงค์

         2)  การระบุความเสี่ยง

         3)  การประเมินความเสี่ยง

         4)  การประเมินมาตรการควบคุม

         5)  การบริหารจัดการความเสี่ยง

         6)  การรายงานผล 

         7)  การติดตามผลและทบทวน

     3. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของคณะฯ ได้มีการทบทวนผลการบริหารจัดการความเสี่ยงในประเด็นความเสี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่ในปีการศึกษา พ.ศ.2558 และได้ทำการวิเคราะห์ SWOT เพื่อทบทวนแผน กลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2559 (งบประมาณประจำปี  2560) ในคราวที่จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานประจำปี 2560 ซึ่งจากการทบทวนแผนปฏิบัติงาน  พบว่า คณะฯ มีจุดอ่อนในการบริหารจัดการหลายประเด็น  คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจึงได้ระบุประเด็นความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง ประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง พร้อมทั้งจัดลำดับความเสี่ยงในแต่ละด้าน พบประเด็นความเสี่ยงที่มีความเสี่ยงสูง โดยเรียงลำดับจากความเสี่ยงสูงที่สุด 3 ลำดับ ดังนี้ 

        1) ด้านการบริหารจัดการ  ประเด็นความเสี่ยงคือ จำนวนนักศึกษาไม่เป็นไปตามแผนรับ

        2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ประเด็นความเสี่ยง คือ นักศึกษาพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

        3) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประเด็นความเสี่ยง คือ จำนวนนักศึกษามีจิตสาธารณะลดลง

       โดยประเด็นความเสี่ยงลำดับที่ 1 และ 2 เป็นความเสี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่จากปีการศึกษา 2558  และในประเด็นที่ 3 คณะกรรมการได้ระบุเพิ่มเติมใน ปีการศึกษา 2559 

     4. หลังจากที่ได้กำหนดประเด็นความเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการฯ ได้กำหนดมาตรการระบบ กลไก พร้อมทั้งเขียนเสนอโครงการ โดยระบุวัตถุประสงค์ของโครงการ งบประมาณโครงการที่เหมาะสม เพื่อให้ความเสี่ยงมีระดับที่ลดน้อยลงหรือหมดไป ดังนี้

          4.1 ด้านการบริหารจัดการ ประเด็นความเสี่ยงคือ จำนวนนักศึกษาไม่เป็นไปตามแผนรับ คณะฯ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม/โครงการ ร่วมกับทางวิทยาเขตตรัง เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อ รวมถึงแนะแนวหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะฯ ให้กับนักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจทั้งในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลาง โดยได้ดำเนินการจัดกิจกรรม จำนวน 1 กิจกรรม คือกิจกรรมการออกประชาสัมพันธ์หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

         4.2 ด้านการผลิตบัณฑิต ประเด็นความเสี่ยงคือ นักศึกษาพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา คณะฯ ได้มีระบบกลไกในการติดตามผลการเรียนและให้คำปรึกษาด้านการเรียนและการใช้ชีวิตโดยอาจารย์ที่ปรึกษา และดำเนินการจัดโครงการ จำนวน  2 โครงการ  คือ

                4.2.1 โครงการปฐมนิเทศนักศึกษา

                4.2.2  โครงการปรับความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ นักศึกษาใหม่

         4.3  ด้านการทำนุศิลปวัฒนธรรม ประเด็นความเสี่ยง คือ จำนวนนักศึกษามีจิตสาธารณะลดลง คณะฯ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับนักศึกษาหลายโครงการ แต่มีโครงการที่นักศึกษาเข้าร่วมและช่วยดำเนินโครงการโดยที่ไม่ได้เป็นกิจกรรมภาคบังคับ จำนวน 2 โครงการ คือ

                4.3.1  โครงการต้อนรับน้องใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

                4.3.2  โครงการประกวดดาวเดือน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
นอกจากนี้ มีกิจกรรมที่นักศึกษาเข้าร่วมโดยความสมัครใจ ประกอบด้วย กิจกรรมวันไหว้ครู เข้าร่วมงานพิธีแห่เทียนพรรษา กิจกรรมทำบุญตักบาตรในวันพระราชพิธีและวันสำคัญต่างๆ 

    5. เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง   นำประเด็นความเสี่ยงทั้ง 3 ด้านเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ  ในการประชุมครั้งที่  7/2559 วันที่ 26 ตุลาคม 2559 เพื่อให้คณะกรรมการฯพิจารณาให้ความเห็นชอบ

    6. ติดตามผลการบริหารความเสี่ยง และสรุปความเสี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่  พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการบริหารความเสี่ยง ปีการศึกษา 2559 พบว่าความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ  และการจัดการเรียนการสอน มีระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม  ดังนี้

         1) ด้านการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2560 สามารถรับนักศึกษาได้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 56.94 จากปีการศึกษา 2559 ที่รับนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 48 ดังตารางแสดงจำนวนนักศึกษาตามแผนรับในแต่ละปีการศึกษา

         2) ด้านการจัดการเรียนการสอน  จำนวนนักศึกษาพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาลดลงร้อยละจากร้อยละ  6.91 ในปีการศึกษา 2558 เป็นร้อยละ 4.93  ในปีการศึกษา 2559

         3) ด้านการทำนุศิลปวัฒนธรรม  จำนวนนักศึกษามี พบว่า ในปีการศึกษา 2559 จำนวนนักศึกษามีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น

    7. มีการนำผลการบริหารจัดการความเสี่ยงเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และข้อเสนอแนะ ในการประชุมครั้งที่ 4/2560 วันที่ 28  มิถุนายน 2560

    8. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะไปใช้ใช้ในการปรับแผนและวิเคราะห์ความเสี่ยงในปีถัดไป

 

 FSFT-5.1-3-01      คำสั่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ที่ 127/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

FSFT-5.1-3-02 แบบการระบุความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยง Risk Management 01

FSFT-5.1-3-03         แบบการประเมินมาตรการควบคุมความเสี่ยง Risk Management 02

FSFT-5.1-3-04 แผนบริหารความเสี่ยง Risk Management 03

FSFT-5.1-3-05 แบบติดตามผลการบริหารความเสี่ยง Risk Management 04

FSFT-5.1-3-06 รายงานผลบริหารความเสี่ยง Risk Management 05

FSFT-5.1-3-07 รายงานผลบริหารความเสี่ยงโดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง Risk Management 06

FSFT-5.1-3-08  โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานประจำปี  2560

FSFT-5.1-3-09  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ  ครั้งที่ 7/2559 เมื่อวันที่ 26  ตุลาคม  2559

FSFT-5.1-3-10  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ  ครั้งที่ 4/2560 
4.

บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  มีการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ดังนี้

     1. คณะฯ มีกรอบในการปฏิบัติราชการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยการจัดทำแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2560-2563 แผนกลยุทธ์ทางการเงิน  พ.ศ.2560-2563 และแผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ซึ่งแผนดังกล่าวมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับพันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์  มาตรการ  แผนงาน  มีการระบุตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของโครงการ มีการตรวจติดตามและรายงานผลการดำเนินงานเป็นรายไตรมาส และเมื่อสิ้นปีงบประมาณคณะฯ ได้นำผลการดำเนินงานไปทบทวนและปรับแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณถัดไปเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป 

     2. คณะฯ มีการบริหารราชการตามแนวทางการกำกับที่ดี โดยการตรวจติดตามผลการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร เช่น ระบบบัญชี 3 มิติ  ระบบบุคลากร ระบบการเงิน ระบบพัสดุ ระบบสารบรรณ นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ และเฟสบุ๊คของคณะฯ ที่มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรและบุคคลภายนอก 

     3. คณะฯ มีการให้บริการตามคู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ภายในระยะเวลาที่ตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของนักศึกษาบุคลากรผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังคะแนนสรุปความพึงพอใจของผู้รับบริการของคณะฯ อยู่ในระดับร้อยละ 84

     4. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มีการบริหารงานตามแผนกลยุทธ์ และงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ตามพันธกิจ ดังนี้

          1) ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณภาพเชี่ยวชาญด้านประมง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ

          2) พัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี

          3) ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพสนองความต้องการของสังคม

          4) ให้บริการวิชาการแก่สังคม

          5) ทำนุบำรุงศาสนาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์

     5. คณะฯ มีกระบวนการบริหารงานอย่างโปร่งใสตรงไปตรงมา สามารถชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามของกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและสามารถตรวจสอบได้ โดยการสืบค้นข่าวสารข้อมูลได้จากเว็บไซต์คณะฯ เช่น  การจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ  ผลการดำเนินงาน ประกาศต่างๆ ของคณะ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ รายงานการประชุมกรรมการประจำคณะ บันทึกการประชุมคณาจารย์คณะ และเว็บไซต์สายตรงคณบดีเพื่อเป็นช่องทางการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ/ติชม

     6. คณะฯ มีการบริหารงานโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำคณะ ประกอบด้วยบุคลากรภายในคณะ ได้แก่ รองคณบดีแต่ละฝ่าย หัวหน้าสาขา และมีบุคคลภายนอก ได้แก่ คุณโกวิทย์  เก้าเอี้ยน  ผู้อำนวยการสำนักงานประมงชายฝั่งจังหวัดตรัง คุณเฉลียว มานะแก้ว ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาควนขนุน ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้เข้าร่วมรับรู้ แสดงทัศนคติ เสนอปัญหา แก้ไขปัญหาและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะฯ นอกจากนี้การให้บริการวิชาการแก่สังคม ผู้รับผิดชอบโครงการ มีการสำรวจความต้องการและรับฟังความคิดเห็นของชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน

     7. คณะฯ มีการบริหารงาน โดยการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ตามโครงสร้างการบริหารงานของคณะ  โดยการแต่งตั้งรองคณบดีแต่ละฝ่าย แต่งตั้งหัวหน้าสาขา และหัวหน้างาน เพื่อมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นความพึงพอใจในการให้บริการแก่ นักศึกษา บุคลากร  และผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย

     8. คณะฯ มีการบริหารงานโดยการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 และคู่มือจรรยาบรรณวิชาชีพ 

     9. บุคลากร ได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ดังประกาศหลักเกณฑ์การสนับสนุนบุคลากรเพื่อไปอบรม สัมมนา ในประเทศ พ.ศ.2555 และประกาศใน พ.ศ.2560

     10. การบริหารงานของคณะฯ ใช้หลักฉันทามติ  โดยการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และหาข้อสรุปผ่านการประชุมคณาจารย์คณะ การประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ และการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ

 FSFT-5.1-4-01   แผนกลยุทธ์การพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง พ.ศ.2560- 2563

FSFT-5.1-4-02   แผนกลยุทธ์ทางการเงิน พ.ศ.2560-2563

FSFT-5.1-4-03   แผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560

FSFT-5.1-4-04     เป้าหมายคุณภาพ(KPI) ประจำปีการศึกษา 2559

FSFT-5.1-4-05    สรุปผลการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.2560

FSFT-5.1-4-06 หนังสือบันทึกข้อความ เรื่อง ขอส่งผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559

FSFT-5.1-4-07 เว็บไซต์คณะ

FSFT-5.1-4-08   Print out หน้าเว็บไซต์สายตรงคณบดี เพื่อเป็นช่องทางรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ/ติชม

FSFT-5.1-4-09  คู่มือการปฏิบัติ งานบุคลากรสายสนับสนุน

FSFT-5.1-4-10    สรุปความพึงพอใจของผู้รับบริการของคณะ

FSFT-5.1-4-11      ขออนุมัติงบประมาณเงินรายจ่าย และเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

FSFT-5.1-4-12 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ

FSFT-5.1-4-13  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ

FSFT-5.1-4-14 บันทึกการประชุมคณาจารย์คณะ

FSFT-5.1-4-15   คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำคณะ

FSFT-5.1-4-16 โครงสร้างการบริหารงานคณะ

FSFT-5.1-4-17      คำสั่งแต่งตั้งหัวหน้าสาขา

FSFT-5.1-4-18    พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  พ.ศ. 2548

FSFT-5.1-4-19   คู่มือจรรยาบรรณวิชาชีพ

FSFT-5.1-4-20  ประกาศคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนบุคลากรเพื่อไปอบรมสัมมนาในประเทศ พ.ศ.2560

FSFT-5.1-4-21   สรุปรายงานบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนทุกคนได้รับการพัฒนา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
5.

ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

     ผลการดำเนินงาน

     ฝ่ายวิชาการและวิจัย ได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ เพื่อให้แต่ละสาขาเสนอวิธีการจัดการความรู้โดยให้ครอบคลุมอย่างน้อยด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัย  

     ประเด็นการจัดการเรียนการสอน ซึ่งแต่ละสาขาได้นำเสนอวิธีการจัดการเรียนการสอนของแต่ละสาขา เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสอนร่วมกัน โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้แต่ละสาขาดำเนินการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสอนกันภายในสาขาและนำมาเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ พิจารณารับทราบและใช้เป็นแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน                           

      อาจารย์ผ่องศรี  พัฒนมณี อาจารย์สังกัดสาขา ศึกษาทั่วไป ได้นำเสนอเทคนิคการสอนเชิงปฏิบัติการ บูรณาการการเรียนการสอนความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง รายวิชาวัฒนวิธีแห่งการดำรงชีวิต และรายวิชาชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวิธีการดำเนินงาน และผลที่ได้รับจากวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบดังกล่าว

    หลังจากนั้นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้ส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการประชุม สัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 10 “การจัดการความรู้ สู่องค์การแห่งการเรียนรู้” ในระหว่างวันที่ 30 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมเอวัณ เดอะ รอยัล ครูส พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีบทความแนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้

     1. กิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  โดยอาจารย์สังกัดสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ

     2. กิจกรรมการจัดการความรู้การเลี้ยงหอยแมลงภู่ร่วมกับปลากะพงขาวในบ่อดิน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์มาโนช ขำเจริญ

     3. กิจกรรมการบูรณาการความรู้ทางด้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในชุมชนบ้านไสต้นวา จังหวัดตรัง โดยอาจารย์ผ่องศรี  พัฒนมณี

     4. กิจกรรมการจัดการความรู้สู่ความเข็มแข็งและยั่งยืนของชุมชนบ้านปากคลอง จังหวัดตรัง โดยอาจารย์กันย์สินิ  พันธุ์วนิชดำรง

       ซึ่งบทความแนวปฏิบัติที่ดีทั้งหมดนี้ ได้รับการเผยแพร่ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก http://www.rmutto.ac.th/

ด้านการวิจัย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งฝ่ายวิชาการและวิจัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดดำเนินงานจัดทำ KM ในส่วนของการตีพิมพ์เผยแพร่อีกครั้งเป็นปีที่ 2 โดยคณะฯ ได้เชิญอาจารย์ประจำหลักสูตรมาประชุมหารือแนวทางการแก้ปัญหา โดยมีแนวทางให้อาจารย์เข้าร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการเขียนเอกสารบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่” ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 2560 ณ โรงแรม ลีการ์เด้น  พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ และการปรับปรุงต้นฉบับบทความวิชาการสู่มาตรฐานการตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ ระหว่างวันที่ 4-5  เมษายน 2560  ณ ตำบลอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ โดยอาจารย์แจ้งความประสงค์เข้าร่วมอบรม จำนวน 22 ราย

     ซึ่งจากการที่มีอาจารย์ได้ร่วมอบรมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้กลับมารายงานผลและนำเทคนิคและวิธีการการเขียนเอกสารบทความวิจัย  เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ และการเขียนบทความทางวิชาการมาถ่ายทอดและเผยแพร่วิธีการให้กับอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ผู้รับรับผิดชอบหลักสูตร ซึ่งส่งผลให้มีอาจารย์ได้รับการตอบรับการนำเสนอผลงานทางวิชาการ จำนวน 6 ราย รอการตอบรับบทความตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน 2 ราย และอีก 14 ราย กำลังอยู่ในกระบวนการเขียนบทความเพื่อส่งวารสารระดับชาติ/ระดับนานาชาติ ตีพิมพ์เผยแพร่

     ในขั้นตอนต่อไป คณะฯ ส่งเสริมให้อาจารย์ส่งบทความวิจัย และวารสารวิชาการ ตีพิมพ์ในระดับชาติและระดับนานาชาติให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น 

      ซึ่งในปีปฏิทิน 2558 ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ของ คณะฯ มีจำนวน 54 เรื่อง

     หลังจากที่คณะฯ ได้ดำเนินการ KM ตามแนวทางดังกล่าว พบว่านักวิจัยเข้าร่วมโครงการอบรมต่างๆ ที่สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดขึ้นและนำมาเผยแพร่ถ่ายทอดให้กับคณาจารย์ได้รับทราบ ส่งผลให้ในปฏิทิน 2559 ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ของคณะฯ ในภาพรวม  มีจำนวน 65 เรื่อง แต่สามารถนำมานับผลงานทางวิชาการในปีปฏิทิน 2559 ได้เพียง 51 เรื่อง ซึ่งลดลงจากปีปฏิทิน 2558 จำนวน 3 เรื่อง เนื่องจากทางผู้จัดงานไม่ได้จัดทำ proceeding ฉบับสมบูรณ์ จำนวน 14 เรื่อง ของคณะฯ จึงไม่สามารถนำมานับได้ 

FSFT-5.1-5-01      คำสั่งคณะกรรมการดำเนินการจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ประจำปีการศึกษา 2559

FSFT-5.1-5-02 รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2559

FSFT-5.1-5-03 รายงานการประชุมกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

FSFT-5.1-5-04      การบูรณาการเรียนการสอนความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง อาจารย์ผ่องศรี  พัฒนมณี

FSFT-5.1-5-05 บทความแนวปฏิบัติที่ดี
6.

การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

     ผลการดำเนินงาน

     1. คณะฯ ได้ดำเนินการตามแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนดังนี้

          1.1 กำหนดกรอบอัตรากำลังประจำปี งบประมาณ 2558-2561 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

          1.2 แผนพัฒนารายบุคคลสำหรับบุคลากรสายวิชาการ พ.ศ.2558-2567 และแผนพัฒนารายบุคคลสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน พ.ศ.2558-2561

     2. คณะฯ  กำหนดให้บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน สามารถขอรับการสนับสนุนเพื่อพัฒนาตนเองของบุคลากรเพื่อไปอบรม สัมมนาในประเทศตามประกาศคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนบุคลากรเพื่อไปอบรม สัมมนา ในประเทศ พ.ศ. 2555

     3. คณะฯ ได้ดำเนินการกำกับติดตาม

          3.1สำหรับผู้ที่ศึกษาต่อ ดังนี้ 

      -  การศึกษา โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อจะต้องรายงานผลการศึกษาให้มหาวิทยาลัยฯ ทราบผ่านทางคณะฯ  หากคณะฯ ยังไม่ได้รับรายงานผลการศึกษาของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อในภาคการศึกษาใด หน่วยบุคลากรจะติดตามโดยการแจ้งทางโทรศัพท์ให้ผู้นั้นรายงานผลการศึกษา

     - การขอขยายเวลาศึกษาต่อ ก่อนจะสิ้นสุดระยะเวลาการลาศึกษาต่อประมาณ 3 เดือน หากผู้ได้รับอนุญาตไม่ขอขยายเวลาหรือแจ้งให้คณะฯ รับทราบ หน่วยบุคลากรจะโทรศัพท์ไปสอบถามและแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตลาศึกษาต่อทำการขอขยายเวลาศึกษาต่อเป็นรายบุคคล

         3.2 สำหรับการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและการขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน

      - พนักงานมหาวิทยาลัยประเภทตำแหน่งวิชาการ จะต้องดำเนินการขอกำหนดตำแหน่งเมื่อถึงระยะเวลาที่ได้วางแผนไว้ โดยในแต่ละปีหน่วยบุคลากร จะกำกับโดยการแจ้งรายบุคคลและแจ้งทางการประชุมคณาจารย์

FSFT-5.1-6-01  กรอบอัตรากำลังประจำปีงบประมาณ 2558 – 2561  


FSFT-5.1-6-02 แผนพัฒนารายบุคคลสำหรับบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน พ.ศ. 2558 -2561  


FSFT-5.1-6-03ประกาศคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนบุคลากรเพื่อไปอบรม สัมมนาในประเทศ พ.ศ. 2555


FSFT-5.1-6-04 รายงานการประชุมคณาจารย์

7.

ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

     ผลการดำเนินงาน

     1) การควบคุมคุณภาพ

      หน่วยประกันคุณภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มาอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะฯ ซึ่งการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา คณะฯ ได้ปฏิบัติตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ซึ่งมีการดำเนินการโดยการแต่งตั้งคำสั่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ที่ 138/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 โดยให้มีการดำเนินงานครอบคลุม ทุกภาคส่วน และให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

     และในปีการศึกษา 2559 หน่วยประกันคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ครบทุกกิจกรรมของหน่วยประกันคุณภาพพร้อมทั้งขั้นตอนการปฏิบัติงานการจัดทำรายงาน การประเมินตนเอง (SAR) ทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ โดยนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 8/2559 เมื่อวันพุธที่ 7 ธันวาคม 2559 เพื่อแจ้งให้บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง รับทราบถึงกระบวนการการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะฯ และสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     อีกทั้ง หน่วยประกันคุณภาพได้ดำเนินการจัดโครงการ จำนวน 2 โครงการ ให้กับผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ระดับคณะ เพื่อให้อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ระดับคณะ ได้พัฒนาศักยภาพในด้านการประกันคุณภาพ

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้

  • โครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพแบบมุ่งผลลัพธ์  ในวันที่ 27 มกราคม ื         2560 ณ โรงแรม ณ ทับเที่ยง บูติค รีสอร์ท ตรัง
  • โครงการการพัฒนาการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ในวันที่ 27 เมษายน 2560 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

๒) การตรวจสอบคุณภาพ

      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้มอบหมายให้หลักสูตรทุกหลักสูตร และผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ระดับคณะ กำหนดเป้าหมายคุณภาพ (KPI) ประจำปีการศึกษา 2559 เพื่อให้การดำเนินการรายงานประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2559 รายงานอย่างถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลา ที่คณะฯ กำหนด และเสนอเป้าหมายคุณภาพ (KPI) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตร และระดับคณะ เสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ครั้งที่ 8/2559 เมื่อพุธที่ 14 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณบดี

     ซึ่งการรายงานการประเมินตนเอง SAR ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตรและระดับคณะ ทางหน่วยประกันคุณภาพ ได้กำหนดให้มีการรายงานการประเมินตนเอง รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน โดยการทำหนังสือบันทึกข้อความแจ้งให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ระดับคณะ ให้ดำเนินการรายงานให้ทันภายในเวลาที่กำหนด เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ได้อย่างครบถ้วน

     ทั้งนี้ หลังจากที่คณะฯ ได้ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามแผนปฏิบัติงานหน่วยประกันฯ ในบางส่วนแล้ว ทางกองวิเทศสัมพันธ์และการประกันคุณภาพ ได้ส่งหนังสือที่ ศธ 0584.23/689 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2559 เรื่อง ขออนุญาตให้เข้าร่วมประชุมทบทวนและวางแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ในวันที่ 19 มกราคม 2560 ณ ห้องประชุมยางนา สำนักงานอธิการบดี ชั้น 2 ซึ่งทางกองวิเทศสัมพันธ์และการประกันคุณ ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงการรายงานการประเมินตนเอง ในปีการศึกษา 2559 เป็น 7 เดือน 8 เดือน และ 10 เดือน เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยฯ ได้มีมติที่ในประชุมสภามหาวิทยาลัยฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 140-5/2559 เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2559 มีมติให้เลื่อนเปิดภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ในวันที่ 5 มิถุนายน 2560 นั้น จึงทำให้การดำเนินงานของหน่วยประกันคุณภาพการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้ดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจากคณะฯ ได้ดำเนินการให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้รับผิดชอบ ตัวบ่งชี้ระดับคณะ รายงานในรอบ 6 เดือน ไปก่อนแล้ว และได้มีการปรับการรายงานการประเมินตนเอง ใหม่ ในรอบ 7 เดือน ตามปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ของกองวิเทศสัมพันธ์และการประกันคุณภาพตามปกติ และการดำเนินงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตร และระดับคณะ หน่วยประกันคุณภาพ ได้นำผลการประเมินตนเองเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง   ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2560 วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2560 ในวาระเพื่อพิจารณา ดังนี้

  • วาระที่ 1 เรื่อง รายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2559 รอบ 7 เดือน ระดับหลักสูตร
  • วาระที่ 2 เรื่อง รายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2559 รอบ 8 เดือน ระดับหลักสูตรและระดับคณะ

     3) การประเมินคุณภาพ

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้จัดทำรายงานการประเมินตนเอง SAR ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และได้มีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร  จำนวน 12 หลักสูตร ในระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 12 กรกฎาคม 2560 และระดับคณะ รับการตรวจประเมินฯ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2560

     หลังจากตรวจประเมินฯ เสร็จสิ้น ระดับหลักสูตรและระดับคณะ ก็จะดำเนินการนำข้อมูลจากการรายงานการประเมินตนเอง  เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล CHE QA Online 3D ตามรูปแบบที่ สกอ. กำหนด และได้นำผลการประเมินคุณภาพและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มาวิเคราะห์ทบทวน วางแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร และคณะ ให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ต่อไป

FSFT-5.1-7-01  คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

FSFT-5.1-7-02  นโยบายคุณภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

FSFT-5.1-7-03      คำสั่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ที่ 138/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559

FSFT-5.1-7-04 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ 0584.07/ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 เรื่อง ขออนุมัติแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2559  

FSFT-5.1-7-05      ขั้นตอนการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับหลักสูตร และระดับคณะ

FSFT-5.1-7-06 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                การประมง ครั้งที่ 8/2559 เมื่อวันพุธที่ 7 ธันวาคม 2559

FSFT-5.1-7-07 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ตามผลการประเมินระดับหลักสูตร

FSFT-5.1-7-08    แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ตามผลการประเมินระดับคณะ

FSFT-5.1-7-09 โครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพแบบมุ่งผลลัพธ์

FSFT-5.1-7-10 โครงการการพัฒนาการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตรและระดับคณะ

FSFT-5.1-7-11 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ครั้งที่ 8/2559 เมื่อพุธที่ 14 ธันวาคม 2559

FSFT-5.1-7-12 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ 0584.07/ ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 เรื่อง ขออนุมัติเป้าหมายคุณภาพ (KPI) ปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตรและระดับคณะ

FSFT-5.1-7-13 หนังสือบันทึกข้อความ ทีศธ0584.07/70           ลงวันที่ 20 มกราคม 2560 เรื่อง รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตร (รอบ 6 เดือน)

FSFT-5.1-7-14 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ 0584.07/95ลงวันที่ 18 มกราคม 2560เรื่อง รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับคณะ (รอบ 6 เดือน)

FSFT-5.1-7-15 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ 0584.23/689  ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2559 เรื่อง ขออนุญาตให้เข้าร่วมประชุมทบทวนและวางแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา2559 ในวันที่ 19 มกราคม 2560

FSFT-5.1-7-16 รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ครั้งที่ 140-5/2559

FSFT-5.1-7-17 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ศธ0584.07/443           ลงวันที่ 10 มีนาคม 2560 เรื่อง รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตร (รอบ 8 เดือน)

FSFT-5.1-7-18 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ0584.07/442           ลงวันที่ 10 มีนาคม 2560 เรื่อง รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับคณะ (รอบ 8 เดือน)

FSFT-5.1-7-19 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ 0584.07/596  ลงวันที่ 29 มีนาคม 2560 เรื่อง ติดตามรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559 รอบ 8 เดือน (ระดับหลักสูตร)

FSFT-5.1-7-20 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ 0584.07/ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 เรื่อง ขอเลื่อนวันประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 1/2560

FSFT-5.1-7-21 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ครั้งที่ 1/2560 วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2560

FSFT-5.1-7-22 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ0584.07/882           ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 เรื่อง รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตร (รอบ 10 เดือน)

FSFT-5.1-7-23 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ0584.07/874           ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 เรื่อง รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับคณะ (รอบ 10 เดือน)

FSFT-5.1-7-24 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ0584.07/1095           ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 เรื่อง กำหนดการตรวจประเมินและรายชื่อผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2559

FSFT-5.1-7-25 หนังสือบันทึกข้อความ ที่ ศธ0584.07/1387           ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2560 เรื่อง ติดตามรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับหลักสูตร (รอบ 10 เดือน)

FSFT-5.1-7-26 ระบบฐานข้อมูล CHE QA Online 3D