• ภาษาไทย
    • English

ตัวบ่งชี้ที่ Srivijaya 2.2: กระบวนการจัดการเรียนการสอน ใช้ทักษะที่มีเทคโนโลยีเป็นฐาน (Technology Based Education-Training)

 


ผลการดำเนินงาน

ข้อ

การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน

หมายเลขและรายการเอกสาร

1.

กระบวนการเรียนการสอนให้ความสำคัญกับ Technology Based และฝึกทักษะในการทำงาน

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  ได้กำหนดให้นักศึกษาทุกชั้นปี ดำเนินการฝึกทักษะวิชาชีพ เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมกับการทำงาน โดยมีอาจารย์แต่ละสาขาวิชา ดำเนินการควบคุมการฝึกทักษะของนักศึกษา

     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยมีกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อฝึกทักษะในการปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยในรายวิชาเรียนจะมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการเรียนการสอน เช่น ใช้ฐานข้อมูลระบบ LMS  ในการเรียนการสอน หรือสื่อทางออนไลน์อย่างอื่น รวมทั้งฝึกทักษะปฏิบัติในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม รวมทั้งฝึกทักษะในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณ ในการจัดโครงการที่ส่งเสริมให้นักศึกษามี Technology Based และสามารถนำความรู้และทักษะ ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ  มาใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง เช่น

     ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มีรายวิชาที่ใช้ Technology Based ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่

     1. รายวิชาอุตุนิยมวิทยา จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Classstart โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิโชค  จันทร์ย่อง

     2. รายวิชาสรีรวิทยาของสัตว์น้ำ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Classstart โดยผู้ช่วย

ศาสตราจารย์สิทธิโชค  จันทร์ย่อง

     3. รายวิชาหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ LMS โดยรองศาสตราจารย์วรวุฒิ  เกิดปราง

     4. รายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ LMS โดยรองศาสตราจารย์วรวุฒิ  เกิดปราง

     5. รายวิชาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Internet, Esri,mapbase โดยอาจารย์กฤตวัฎ  บุญชู

     6. รายวิชาพื้นฐานการออกแบบ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ CAI,Youtube โดยอาจารย์ พาสนา  เอกอุดมพงษ์

     7. รายวิชาการจัดองค์ประกอบศิลป์ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Youtube , Google โดยอาจารย์หทัยรัตน์  บุญเนตร

     8. รายวิชาการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Youtube ,Eclipse  โดยอาจารย์สิริรักษ์  ขันฒานุรักษ์

     ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 มีรายวิชาที่ใช้ Technology Based ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่

     1. รายวิชาธรณีวิทยาทางทะเล จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Classstart โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิโชค  จันทร์ย่อง

     2. รายวิชาชีววิทยากุ้งทะเล จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Classstart โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิโชค  จันทร์ย่อง

     3. รายวิชาพันธุสาสตร์สัตว์น้ำ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ LMS โดย รองศาสตราจารย์

วรวุฒิ  เกิดปราง

     4. รายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ LMS โดยรองศาสตราจารย์วรวุฒิ  เกิดปราง

     5. รายวิชาภาษาญี่ปุ่น 1 จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ LMS โดยรองศาสตราจารย์วรวุฒิ  เกิดปราง

     6. รายวิชาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Internet, Esri,mapbase โดยอาจารย์กฤตวัฎ  บุญชู

     7. รายวิชาสื่อประสมและไฮเปอร์มีเดีย จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Internet, Esri,mapbase โดยอาจารย์กฤตวัฎ  บุญชู

     8. รายวิชาพื้นฐานการออกแบบ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ CAI,Youtube โดยอาจารย์ พาสนา  เอกอุดมพงษ์

     9. รายวิชาการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ Youtube ,Eclipse  โดยอาจารย์สิริรักษ์  ขันฒานุรักษ์

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มีโครงการส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะทางเทคโนโลยีและการนำเอาความรู้และทักษะมาใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง จำนวน 9 โครงการ ดังนี้

     1. โครงการฝึกทักษะวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร

     2. โครงการฝึกทักษะวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและมัลติมีเดีย

     3. โครงการฝึกทักษะวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

     4. โครงการฝึกทักษะวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า

     5. โครงการฝึกทักษะวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีบัณฑิต

     6. โครงการฝึกทักษะวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการประมง

     7. โครงการฝึกทักษะวิชาชีพสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

     8. โครงการฝึกทักษะวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมอาหาร

     9. โครงการฝึกทักษะวิชาชีพทางด้านสิ่งแวดล้อม

Srivijaya-2.2-1-01   คำสั่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ที่ 131/2559 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการฝึกทักษะวิชาชีพคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ประจำปีการศึกษา 2559

Srivijaya-2.2-1-02   คำสั่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ที่ 27/2560 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการฝึกทักษะวิชาชีพคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ประจำปีการศึกษา 2559 เพิ่มเติม

Srivijaya-2.2-1-03  แผนการเรียน การสอน ในภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2559

Srivijaya-2.2-1-04  รายงานการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Technology Based

Srivijaya-2.2-1-05  โครงการฝึกทักษะวิชาชีพ จำนวน 9 โครงการ
2.

นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้กำหนดแผนการเรียนการสอน ให้กับนักศึกษาทุกสาขาวิชาของคณะฯ ให้มีการจัดทำปัญหาพิเศษ/โครงงาน เพื่อให้นักศึกษาสามารถฝึกการทำวิจัย การประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนการสอน รู้จักใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการฝึกปฏิบัติงานจริงทั้งในห้องเรียนและสถานประกอบการ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยวิธีการให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการจริง

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  มีห้องปฏิบัติการที่สนับสนุนรายวิชาในการฝึกปฏิบัติการเรียนรู้ของนักศึกษา จำนวน 25 ห้อง และสนับสนุนรายวิชาในหลักสูตรของคณะฯ ดังนี้     

     1. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ จำนวน  1 ห้อง

             สนับสนุนรายวิชา  2 รายวิชา คือ

             1. คุณภาพน้ำทางการประมง

            2. การวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการจัดการประมง

     2. ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา

            สนับสนุนรายวิชา  1 รายวิชา คือ

            1. จุลชีววิทยาทั่วไป

     3. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

            สนับสนุนรายวิชา  ๒ รายวิชา คือ

            1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

            2. คอมพิวเตอร์เพื่อการประมง

            3. สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า

     4. โรงงานแปรรูปอาหาร

           สนับสนุนรายวิชา  2 รายวิชา คือ

           1. การแปรรูปอาหาร

           2. ผลิตภัณฑ์อาหาร

     5. ห้องปฏิบัติการทางสมุทรศาสตร์

            สนับสนุนรายวิชา  ๓ รายวิชา คือ

           1. สมุทรศาสตร์สกายะ

           2. สมุทรสาสตร์เคมี

           3. สมุทรสาสตร์ชีวภาพ

Srivijaya-2.2-2-01   รายวิชาเปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559

Srivijaya-2.2-2-02  รายวิชาเปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559

3.

นักศึกษามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน Technology Based กับชุมชน สังคม ภายใต้การให้คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน

     ผลการดำเนินงาน

     นักศึกษามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน Technology  Based กับชุมชน สังคม ภายใต้การให้คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน และมีการจัดกิจกรรมโครงการขึ้นระหว่างนักศึกษาและบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ ซึ่งในปีการศึกษา 2559 คณะฯ ได้ดำเนินการจัดโครงการ จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการวิศวกรปลุกจิตอาสาฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมจังหวัดตรัง ในระหว่าง วันที่ 19-23 มิถุนายน 2560        
Srivijaya-2.2-3-01 โครงการวิศวกรปลุกจิตอาสาฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมจังหวัดตรัง   

4.

นักศึกษาใช้หลัก Technology Based ในงานวิจัย โครงงาน กรณีศึกษา

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้มีการบริการระบบสืบค้นข้อมูลของนักศึกษา  ณ อาคารวิทยบริการ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการทำวิจัย และโครงงานแก่นักศึกษา

     นักศึกษาใช้หลัก Technology Based ในงานวิจัย โครงงาน กรณีศึกษา

     มหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษานำหลัก Technology  Based มาใช้ในงานวิจัย โครงงาน กรณีศึกษา เช่น

     ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยี Technology Based มาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้งานวิจัยและให้นักศึกษามีส่วนร่วม ในงานวิจัย โครงงาน โดยมีโครงงาน/ปัญหาพิเศษของทุกสาขาวิชา ตัวอย่างเช่น

     1. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชและการใช้ประโยชน์ในป่าเสม็ด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยโดย นายวรพล  โภชสาลี และนางสาวศุภาวรรณ  สุขเสน นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น

     2. ผลของการใช้อาหารสดต่างชนิดต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของกุ้งก้ามแดง โดยนางสาวอนงค์นาถ  อ่อนสีแก้ว และนางสาวขนิษฐา  แก้วงาม นักศึกษาสาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

     3. เว็บไซต์กรณีศึกษา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำบ้านดอนขี้เหล็ก จังหวัดสงขลา โดยนางสาว

อัสมา  บินบอสอ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

     4. อายุและการเจริญเติบโตของหอยตลับ Meretrix casta (Gmelin,1791) ในบริเวณแม่น้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง โดย นางสาวสุลาวัลย์ พูลแก้ว นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

Srivijaya-2.2-4-01   รูปเล่มปัญหาพิเศษ/โครงงานของนักศึกษา

5.

ติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักศึกษามีการพัฒนาการเรียนรู้ทักษะ วิชาชีพ

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  ได้มีการวัดประเมินผลการจัดทำปัญหาพิเศษ/โครงงานของนักศึกษาของทุกสาขา โดยมีอาจารย์เป็นผู้ประเมิน และนักศึกษาจะต้องนำส่งรูปเล่มปัญหาพิเศษให้กับอาจารย์ผู้สอนเพื่อวัดผลการศึกษา สำหรับการประเมินทักษะวิชาชีพของนักศึกษา จะมีอาจารย์ของแต่ละสาขารับผิดชอบการฝึกทักษะของนักศึกษา ซึ่งหากนักศึกษาไม่ผ่านการฝึกทักษะ 1 ก็ไม่มีสิทธิ์ ฝึกทักษะ 2 และหากไม่ผ่านการฝึกทักษะ 2 ก็จะไม่มีสิทธิ์ออกไปฝึกงานภายนอก และหากนักศึกษาไม่ผ่านการฝึกงานภายนอกนักศึกษาจะไม่สำเร็จการศึกษา

     การติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ทั้งจากการดำเนินโครงการ โครงการวิจัย แนวทางการติดตามการฝึกสหกิจศึกษาหรือ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาทำให้นักศึกษามีการพัฒนาการเรียนรู้ทักษะ วิชาชีพได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ได้จัดทำคู่มือและหรือขั้นตอนการดำเนินงานติดตามประเมินอย่างเป็นระบบ เช่น  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ดำเนินงานสหกิจศึกษา/ฝึกงาน มีขั้นตอนการติดตามอย่างเป็นระบบ ดังนี้

     1. มีการปฐมนิเทศก่อนออกสหกิจ/ฝึกงานภายนอก

     2. มีการนิเทศนักศึกษาสหกิจ/นักศึกษาฝึกงาน

     3. มีการประเมินผลการฝึกสหกิจ/นักศึกษาฝึกงาน จากอาจารย์นิเทศและสถานประกอบการ

     4. รายงานประสบการณ์ ความรู้ที่ได้รับ โดยเขียนนำเสนอเป็นรายงานและนำเสนอในรูปแบบการสัมมนาหลังจากฝึกงาน

     5. ประเมินผลโดยอาจารย์ประจำวิชา

(หลักฐานตามตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ข้อที่ 4)

Srivijaya-2.2-4-01 รูปเล่มปัญหาพิเศษ/โครงงานของนักศึกษา

 

Srivijaya-2.2-5-01  แบบประเมิน - ติดตาม ปัญหาพิเศษและทักษะวิชาชีพ