• ภาษาไทย
    • English

ตัวบ่งชี้ที่ Srivijaya 2.2 : กระบวนการจัดการเรียนการสอน ใช้ทักษะที่มีเทคโนโลยีเป็นฐาน (Technology Based Education-Training)


ผลการดำเนินงาน

ข้อ การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน หมายเลขและรายการเอกสาร

 

 

1.

กระบวนการเรียนการสอนให้ความสำคัญกับ Technology Based และฝึกทักษะในการทำงาน

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้กำหนดให้นักศึกษาทุกชั้นปี ดำเนินการฝึกทักษะวิชาชีพ เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมกับการทำงาน

Srivijaya-2.2-1-01-คำสั่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงที่ 14/2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการฝึกทักษะวิชาชีพคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ประจำปีการศึกษา 2557

Srivijaya-2.2-1-02  -แบบขอเปิดรายวิชาสอนและใบแสดงภาระงานสอนอาจารย์ ในภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2557              

 

2.

นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  ได้กำหนดแผนการเรียนการสอน ให้กับนักศึกษาทุกสาขาวิชาของคณะฯ ให้มีการจัดทำปัญหาพิเศษ/โครงงาน เพื่อให้นักศึกษาสามารถฝึกการทำวิจัย การประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนการสอน รู้จักใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Srivijaya-2.2-2-01- แบบฟอร์มการส่งปัญหาพิเศษของนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2557

 

3.

นักศึกษามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน Technology Based-กับชุมชน สังคม ภายใต้การให้คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง โดยสโมสรนักศึกษาได้ดำเนินโครงการพี่สอนน้อง ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2557 ในวันที่ 7 มีนาคม – 1 เมษายน 2558 โดยมีคณาจารย์และนักศึกษาร่วมกันฝึกทักษะให้กับเยาวชนในการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยกลุ่ม เป้าหมาย เป็นนักเรียนจากโรงเรียนไสต้นวา อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
Srivijaya-2.2-3-01 -แบบฟอร์มการส่งปัญหาพิเศษของนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2557

 

4.

นักศึกษาใช้หลัก Technology-Based--ในงานวิจัย โครงงาน กรณีศึกษา

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  ได้มีการบริการระบบสืบค้นข้อมูลของนักศึกษา ณ อาคารวิทยบริการ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการทำวิจัย และโครงงาน แก่นักศึกษา
Srivijaya-2.2-4-01   -ภาพถ่ายบริการห้อง Self Access และห้องสมุด

 

 

5.

ติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการอย่าง เป็นระบบและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักศึกษา มีการพัฒนาการเรียนรู้ทักษะ วิชาชีพ

     ผลการดำเนินงาน

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  ได้มีการวัดประเมินผลการจัดทำปัญหาพิเศษ/โครงงานของนักศึกษาของทุกสาขาโดยมีอาจารย์เป็นผู้ประเมินสำหรับการประเมินทักษะวิชาชีพของนักศึกษา จะมีอาจารย์  ของแต่ละสาขารับผิดชอบการฝึกทักษะของนักศึกษา ซึ่งหากนักศึกษาไม่ผ่านการฝึกทักษะ 1 ก็ไม่มีสิทธิ์ฝึกทักษะ 2 และหากไม่ผ่านการฝึกทักษะ 2 ก็จะไม่มีสิทธิ์ออกไปฝึกงานภายนอก และหากนักศึกษาไม่ผ่านการฝึกงานภายนอกนักศึกษาจะไม่สำเร็จการศึกษา
Srivijaya-2.2-5-01  -แบบประเมิน ติดตาม ปัญหาพิเศษและทักษะวิชาชีพ