• ภาษาไทย
    • English

ตัวบ่งชี้ที่ 1.0.3 : ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถาบัน/หน่วยงาน (สมศ. 17)

เกณฑ์มาตรฐาน

ข้อ เกณฑ์มาตรฐาน
1 มีการกำหนดกลยุทธ์การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของสถาบัน โดยได้รับการเห็นชอบจากสภาสถาบัน
2 มีการสร้างระบบการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและบุคลากร ในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
3 ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามจุดเน้น และจุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของสถาบัน ไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
4 ผลการดำเนินงานบรรลุตามจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของสถาบัน/หน่วยงานและเกิดผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคม
5 สถาบัน/หน่วยงานมีเอกลักษณ์ตามจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่กำหนด และได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ

ผลการดำเนินงาน

ข้อ ผลการดำเนินงาน หลักฐาน
1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  ได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548  ซึ่งกำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการเรียนการสอนเฉพาะทางที่เน้นปฏิบัติการในกลุ่มสาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้นมหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลศรีวิชัยได้กำหนดเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ “เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีทักษะปฏิบัติ” เป็นจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของสถาบัน  ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2555 

FISHTECH 1.0.3-1-01 แผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2556-2559 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

FISHTECH 1.0.3-1-02แผนปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ. 2556 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

FISHTECH 1.0.3-1-03 เว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

http://fishtech.rmutsv.ac.th/

FISHTECH 1.0.3-1-04 หนังสือจากกองวิเทศสัมพันธ์และการประกันคุณภาพ ที่ศธ 0584.23/479 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555  เรื่อง แจ้งมติสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2555
2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน 2556 โดยกำหนดโครงการในแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยและของคณะฯ ซึ่งตามกระบวนการของการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี จะต้องมีส่วนร่วมจากผู้เรียนและบุคลากร โดยมีการจัดตั้งคำสั่งในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งกำหนดการจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปี

(หลักฐานตามตัวบ่งชี้ที่ 1.0.3 ข้อที่ 1)

FISHTECH 1.0.3-1-02 แผนปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ. 2556

FISHTECH 1.0.3-2-01 คำสั่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556

3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยติดตามประเมินผลการดำเนินงานไปยังบุคลากรทุกระดับและ ภาคส่วน ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ ตลอดจนบุคลากรสายสนับสนุน ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย (เชี่ยวชาญเทคโลยี มีทักษะปฏิบัติ) ผลการประเมินความเห็นของบุคลากรอยู่ที่ 4.28 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน อยู่ในระดับดี FISHTECH 1.0.3-3-01 ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย (เชี่ยวชาญเทคโลยี มีทักษะปฏิบัติ) ประจำปีการศึกษา 2556
4

ผลการดำเนินงานบรรลุตามจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของมหาวิทยาลัย “เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีทักษะปฏิบัติ” ทำให้เกิดผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคม คือ บัณฑิตที่จบการศึกษามีความรู้ความสามารถ สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่เน้นทักษะด้านวิชาชีพ

      นอกจากนั้น การที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพทำให้สามารถเป็นที่ปรึกษา วิทยากรให้กับชุมชน และจัดโครงการบริการต่างๆ มากมาย ตามความต้องการของชุมชน ดังนั้น คณะฯ ได้กำหนดให้คณาจารย์ทำวิจัยบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปัญหาของชุมชน ส่งผลให้มีงานวิจัยมากมายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างแท้จริง เช่น การผลิตกุ้งส้มบรรจุในภาชนะปิดที่ผ่านการแปรรูปด้วยความร้อน The production of sour fermented shrimp containing in sealed package with thermal processing โดยการนำไปเผยแพร่กระบวนการผลิต และ สูตรของกุ้งส้มทะเล ให้กับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  บ้านโคกมะม่วง เป็นการพัฒนาจากภูมิปัญญาเดิมของชาวบ้านที่ทำการผลิตเป็นกุ้งส้ม   โดยในการผลิตกุ้งส้มของชาวบ้านนั้น  น้ำที่ใช้ในการล้างโดยใช้น้ำจืด  จะมีผลทำให้กุ้งที่ดองนั้นลักษณะรูปร่างภายนอก เนื้อสัมผัสไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  แต่ในงานวิจัยนี้ใช้น้ำเค็ม เนื่องจากน้ำทะเลที่นำมาใช้นี้ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อแล้วนำมาล้าง ผลการวิจัยพอว่า กุ้งที่จะพัฒนาเป็นกุ้งส้ม  มีสภาพภายนอกของเปลือกกุ้งสวย  ไม่มีกลิ่น  ทิ้งให้สะเด็ดน้ำ  นำมาใส่ในขวด มีน้ำปรุงรสประกอบด้วย เกลือ 6.5% และน้ำตาลโตนด 30% โดยปกติในการรับประทานอาหารกุ้งส้มของชาวบ้านหรือคนโดยทั่วไป รับประทานแบบดิบ  ขณะที่งานวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาโดยใช้ความร้อนควบคู่ไปกับการดอง  ในภาชนะปิดที่ผ่านการแปรรูปด้วยความร้อน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค ซึ่งเดิมพื้นฐานในการทำการวิจัยนั้น  ก็ได้มีแนวคิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านมาต่อยอด เท่ากับว่าได้นำภูมิปัญาชาวบ้านมาพัฒนาต่อยอดและผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร  และตามหลักมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมขนของกุ้งส้ม ซึ่งคนในกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโคกมะม่วง  ได้มีการเริ่มต้นที่จะผลิตขายในท้องตลาด

FISHTECH 1.0.3-4-01 รายงานการวิจัยการผลิตกุ้งส้มบรรจุในภาชนะปิดที่ผ่านการแปรรูปด้วยความร้อน The production of sour fermented shrimp containing in sealed package with thermal processing

FISHTECH 1.0.3-4-02 หนังสือรับรองการนำไปใช้ประโยชน์
5

ผลจากการดำเนินงานด้านเอกลักษณ์ตามจุดเน้น จุดเด่น ของมหาวิทยาลัย คือ “เชี่ยวชาญเทคโนโลยี   มีทักษะปฏิบัติ” มาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บุคลากรของคณะฯ ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลทั้งระดับชาติและนานาชาติ ดังนี้

     ผลงานของนักศึกษา

     1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาโนช ขำเจริญ อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการประมง  นำตัวแทนนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาชีพทางการประมง  เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2556 ณ คณะเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) ซึ่งมีนักศึกษาได้รับรางวัล ดังนี้

          1.1 นายกิตติศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นักศึกษาสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทักษะการตอบ

ปัญหาทางการประมง

          1.2 นางสาวฟาติฮะฮ์ แวกาจิ  นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล  ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทักษะการเรียกชื่อเครื่องมือทางการประมง

          1.3 นายธนากร หมัดสุข นักศึกษาสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

          1.4 นายกิตติศักดิ์ วงศ์สุวรรณ และ นางสาว ฟาติฮะอ์  แวกาจิ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ2  ทักษะการเรียกชื่อแพลงก์ตอน สาหร่ายและพันธุ์ไม้น้ำ

          1.5 นายสุรเชษฐ นาพยา และนายนพเดช  ช่วยทอง สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทักษะการจัดตู้ปลาสวยงาม

     2) ผู้ช่วยศาสตาจารย์มาโนช  ขำเจริญ  หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีการประมง พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุไรวรรณ วัฒนกุล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พชร  เพชรประดับ และดร.สมรักษ์  รอดเจริญ    นำนักศึกษาเข้าร่วมงานเสวนาวิชาการทางวิทยาศาสตร์การประมง  ระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 9“ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” ระหว่างวันที่  8-9 กุมภาพันธ์ 2557 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  และจากการเข้าร่วมเสวนาวิชาการวิทยาศาสตร์การประมง   มีนักศึกษาได้รับรางวัล ดังนี้

          2.1 นางสาวจันทิมา เวชยม และ นางสาวอารยา  เอี่ยมกำลัง นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้รับรางวัลชนะเลิศ

          2.2 นางสาวจันทร์ศิริ  โชคคณาพิทักษ์ และนายสันติ พราหมเทพ นักศึกษาสาขาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ประมง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

     ผลงานของอาจารย์

     1) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิรักษ์ สงรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยี

การประมง  ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด Thailand Blog Awards 2013 ประเภท Citizen Reporter Blog จากเวทีการประกวดงาน เขียนผ่านบล็อค (สื่อออนไลน์) ประจำปี 2556 ณ Central Plaza Grand Rama 9 จัดโดย บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น ผลงานที่ส่งเข้าประกวด  คือ การนำเสนอเรื่องราวของพะยูนแห่งท้องทะเลตรังและกิจกรรมการปลูกหญ้าทะเลของจังหวัดตรังที่เป็นความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยใช้นามปากกาว่า "คนริมเล" ใน OKnation.net ซึ่งเหมาะสมที่จะได้รับรางวัลชนะเลิศไทยแลนด์บล็อกอะวอร์ด สาขา Citizen Reporter Blog 

     2)เมื่อวันที่ 14-20 พฤษภาคม 2557 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินุช  สุจริต  อาจารย์ประจำสาขาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ประมง  คว้ารางวัลเหรียญทองแดง  ในงานประกวดและจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ของนักวิจัยและนักประดิษฐ์สตรีจากนานาชาติ ในงาน Korea International 2 women’s Inventions 2014 (KIWIE 2014) จากการผลงานที่ประกวดและจัดแสดงนิทรรศการ เรื่อง ปูแสมเค็มกระป๋อง (Salty canned Samae Crab)  ณ aT Center (Kangnam Daero, Secho-gu,Seoul) ประเทศเกาหลีใต้

     3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิทย์  จิตรภักดี  อาจารย์ประจำสาขาสิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น (The Best Practice Award) โครงการวิจัยเรื่อง Ingestion and assimilation of leaf litter by cylindrical millipedes (Thyropygus cuisinieri) in Northeast of Thailand ณ เมือง Banda Seri Begawan ประเทศ Brunei Darussalam

FISHTECH-1.0.3-5-01-เว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เกี่ยวกับผลงานนักศึกษา/อาจารย์ ที่ได้รับรางวัล

FISHTECH-1.0.3-5-02-รางวัลของนักศึกษา/อาจารย์